ถาม-ตอบ 9 ประเด็นร้อน ระบบรับตรงร่วมกัน และ วิชาสามัญ 9 วิชา |
เนื้อหา น้องๆ คงสงสัยว่า ระบบรับตรงร่วมกัน และ วิชาสามัญ 9 วิชา มันคืออะไร มันต้องสอบยังไง เอาไปใช้ยังไง วันนี้พี่ฟลุ๊กAlist academy มีคำตอบให้ตอบ ให้กับคำถาม 9 ประเด็นร้อน ที่น้องๆ อยากรู้ มาดูกันเลย |
ประเด็นที่ 1 ”ระบบรับตรงร่วมกัน”
ปีการศึกษา 2559 และ วิชาสามัญ 9 วิชา เริ่มใช้กับใคร? |
คำตอบ นักเรียน ม.5 ในปีการศึกษา 2557 (จะเป็น นักเรียน ม.6 ในปีการศึกษา 2558 ที่เข้าสู่ระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาผ่านระบบรับตรง ปีการศึกษา 2559 ) |
ประเด็นที่ 2 วิชาสามัญ 9 วิชา ประกอบด้วยวิชาอะไรบ้าง ใครเป็นผู้จัดสอบ? |
คำตอบ วิชาสามัญ 9 วิชา คือ วิชาสามัญ 7 วิชา ที่จัดสอบโดย สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ(องค์การมหาชน) หรือ สทศ. อยู่แล้ว และ ปีการศึกษา 2559 ให้มีการจัดสอบเพิ่มอีก 2 วิชา ได้แก่ - วิชาคณิตศาสตร์ - วิชาฟิสิกส์ - วิชาเคมี - วิชาชีววิทยา - วิชาภาษาอังกฤษ - วิชาภาษาไทย - วิชาสังคมศึกษา - วิชาคณิตศาสตร์ 2 (จัดสอบเพิ่ม) - วิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป (จัดสอบเพิ่ม) |
ประเด็นที่ 3 วิชาสามัญ 9 วิชา ต้องสอบครบทั้ง 9 วิชาหรือไม่? |
คำตอบ นักเรียนไม่จำเป็นต้องสอบทุกรายวิชา โดยนักเรียนสามารถเลือกสอบเฉพาะวิชาที่ใช้เป็นองค์ประกอบคะแนนคัดเลือก ในการสมัครเข้าศึกษาต่อ คณะ/สาขาต่างๆ ตามที่แต่ละมหาวิทยาลัยกำหนด และมหาวิทยาลัยแต่ละแห่งจะประกาศให้นักเรียนทราบผ่าน ‘ระเบียบการรับสมัคร” โครงการรับตรงของแต่ละมหาวิทยาลัย |
ประเด็นที่ 4 “ระบบรับตรงร่วมกัน” ปีการศึกษา 2559 แตกต่างจาก ระบบรับตรงในปัจจุบัน อย่างไร? |
คำตอบ “ระบบรับตรงร่วมกัน” ปีการศึกษา 2559 กับ ระบบรับตรงในปัจจุบัน ไม่มีความแตกต่างกัน เพราะ ระบบรับตรงในปัจจุบัน ในหลายๆมหาวิทยาลัย ก็ใช้ ข้อสอบกลาง คือ GAT/PAT 7 วิชาสามัญ และ O-NET เป็นองค์ประกอบคะแนนคัดเลือกอยู่แล้ว แต่ “ระบบรับตรงร่วมกัน” ปีการศึกษา 2559 เพิ่มการจัดสอบวิชาสามัญ(เดิมคือ วิชาสามัญ 7 วิชา) อีก 2 วิชา คือ คณิตศาสตร์ 2 และ วิทยาศาสตร์ทั่วไป เพื่อรองรับนักเรียนสายศิลป์ กลายเป็น วิชาสามัญ 9 วิชา |
ประเด็นที่ 5 ปีการศึกษา 2559 มหาวิทยาลัยยังมีการจัดสอบเอง หรือไม่? |
คำตอบ ปีการศึกษา 2559 มหาวิทยาลัยยังมีการจัดสอบเองอยู่เช่นเดิม แต่การจัดสอบเองอาจลดลง ในบางคณะ/สาขา กรณีที่มี การจัดสอบเองของมหาวิทยาลัย มีความทับซ้อนกับ ข้อสอบกลาง เช่น GAT/PAT วิชาสามัญ 9 วิชา และ O-NET มหาวิทยาลัยแต่ละแห่งอาจตัดสินใจเปลี่ยนไปใช้ ข้อสอบกลาง เช่น GAT/PAT วิชาสามัญ 9 วิชา และ O-NET เป็นองค์ประกอบคะแนนคัดเลือกมากขึ้น ในส่วนนี้ให้นักเรียนติดตามจากประกาศของแต่ละมหาวิทยาลัยอีกครั้ง ในส่วน ระบบโควตาและโครงการพิเศษต่างๆ เช่น การรับนักเรียนผู้มีความสามารถทางด้านกีฬา ดนตรี และศิลปวัฒนธรรม รวมถึงโครงการเด็กดีมีที่เรียน ของมหาวิทยาลัยต่างๆ ก็ยังคงมีอยู่เช่นเดิม |
ประเด็นที่ 6 ปีการศึกษา 2559 ในทุกมหาวิทยาลัยต้อง วิชาสามัญ 9 วิชา ในการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาผ่าระบบรับตรง ใช่หรือไม่ |
คำตอบ ไม่จำเป็น แต่ละมหาวิทยาลัย สามารถกำหนดสัดส่วนและองค์ประกอบคะแนนคัดเลือก ใน คณะ/สาขาต่างๆ ได้เอง ขึ้นอยู่กับ แต่ละมหาวิทยาลัย ว่าจะใช้ การจัดสอบเองโดยมหาวิทยาลัย หรือ ใช้ ข้อสอบกลางตัวใดบ้าง เช่น วิชาสามัญ 9 วิชา ,GAT/PAT ,O-NET มาเป็นองค์ประกอบคะแนนคัดเลือก รูปแบบองค์ประกอบคะแนนคัดเลือกในการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาผ่านระบบรับตรง ปีการศึกษา 2559 ที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น - การใช้องค์ประกอบคะแนนคัดเลือกเพียงองค์ประกอบเดียว เช่น ใช้ วิชาสามัญ 9 วิชา เพียงอย่างเดียว , ใช้ GAT/PAT เพียงอย่างเดียว , การจัดสอบเองโดยมหาวิทยาลัย เพียงอย่างเดียว - การใช้องค์ประกอบคะแนนคัดเลือกหลายองค์ประกอบ เช่น ใช้ วิชาสามัญ 9 วิชา ร่วมกับ GAT/PAT , ใช้ วิชาสามัญ 9 วิชา ร่วมกับ การจัดสอบเองโดยมหาวิทยาลัย , ใช้ GAT/PAT ร่วมกับ การจัดสอบเองโดยมหาวิทยาลัย เป็นต้น |
ประเด็นที่ 7 “ระบบรับตรงร่วมกัน” ปีการศึกษา 2559 ในคณะ/สาขา เดียวกัน แต่ต่างมหาวิทยาลัยกัน ต้องใช้ วิชาสามัญ 9 วิชา ในการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาผ่าระบบรับตรง เหมือนกันหรือไม่ |
คำตอบ ไม่จำเป็น แต่ละมหาวิทยาลัย สามารถกำหนดสัดส่วนและองค์ประกอบคะแนนคัดเลือก ใน คณะ/สาขาต่างๆ ได้เอง ขึ้นอยู่กับ แต่ละมหาวิทยาลัย ว่าจะใช้ การจัดสอบเองโดยมหาวิทยาลัย หรือ ใช้ ข้อสอบกลางตัวใดบ้าง เช่น วิชาสามัญ 9 วิชา ,GAT/PAT ,O-NET มาเป็นองค์ประกอบคะแนนคัดเลือก ตัวอย่างเช่น คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย A ใช้ วิชาสามัญ 9 วิชา วิชาคณิตศาสตร์ วิชาภาษาไทย วิชาสังคมศึกษา วิชาภาษาอังกฤษ ขณะที่ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย B อาจใช้ วิชาคณิตศาสตร์ 2 วิชาภาษาไทย วิชาสังคมศึกษา วิชาภาษาอังกฤษ ก็ได้ |
ประเด็นที่ 8 ปีการศึกษา 2559 นักเรียนเลือกสมัครรับตรงได้เพียง มหาวิทยาลัยเดียว คณะเดียว ใช่หรือไม่ |
คำตอบ “ระบบรับตรงร่วมกัน” ปีการศึกษา 2559 ไม่ใช่การที่มหาวิทยาลัยแต่ละแห่งมารวมกันรับนิสิต/นักศึกษา แต่สาระสำคัญของ “ระบบรับตรงร่วมกัน” ปีการศึกษา 2559 คือ การใช้ ข้อสอบกลาง เช่น วิชาสามัญ 9 วิชา ,GAT/PAT ,O-NET ของ สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ(องค์การมหาชน) หรือ สทศ. เป็นองค์ประกอบในการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาผ่านระบบรับตรงของแต่ละมหาวิทยาลัย นักเรียนยังสามารถสมัครโครงการรับตรงได้ในทุกคณะ/สาขา ที่แต่ละมหาวิทยาลัยที่เปิดรับและนักเรียนมีคุณสมบัติ องค์ประกอบคะแนนครบ ตามที่ คณะ/สาขา แต่ละมหาวิทยาลัยกำหนด |
ประเด็นที่ 9 ปีการศึกษา 2559 ยังมี ระบบแอดมิชชัน หรือไม่ |
คำตอบ ปีการศึกษา 2559 ยังคงมีการรับนิสิต/นักศึกษาผ่าน ระบบแอดมิชชัน โดยมีองค์ประกอบคะแนนแอดมิชชัน ได้แก่ GPAX 20% + ONET 30% + GAT/PAT 50% ดูรายละเอียด การปรับสัดส่วนแอดมิชชัน ประจำปีการศึกษา 2559 |
ที่มา : https://www.eduzones.com รายงานโดย : พี่ฟลุ๊ก ALIST academy |